สารสกัดจาก กระชายดำ สรรพคุณดีๆที่คุณผู้ชายต้องควรลอง
เมื่อพูดถึงสารสกัดจากธรรมชาติสำหรับเพศชาย กระชายดำ นับเป็นวัตถุดิบอีกชนิดหนึ่งที่เชื่อกันว่ามีสรรพคุณช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ จึงทำให้ในระยะหนึ่งเกิดกระแสกระชายดำฟีเว่อร์ มีการส่งเสริมให้ปลูก และทำเป็นผลิตภัณฑ์โอทอปออกมาวางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้กระชายดำเป็นหนึ่งในสารสกัดจากธรรมชาติ 5 ตัว ที่เป็นโปรดักส์แชมเปียนอีกด้วย วันนี้ วิณพา จะพาท่านผู้อ่านมารู้ลึกถึงสรรพคุณของกระชายดำกันค่ะ
กระชายดำ (Black Galingale) เป็นพืชล้มลุกที่นิยมนำเหง้าหรือหัวมาใช้ประโยชน์มากในด้านสรรพคุณทางยา เครื่องสำอาง สีย้อมผ้า การประกอบอาหาร เป็นต้น จนได้สมญานามว่าเป็น โสมไทย ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สรรพคุณในตำรายาไทยของกระชายดำระบุว่าเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกาม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ในการใช้แบบพื้นบ้านจะนำมาทำเป็นยาลูกกลอนโดยเอาผงแห้งมาผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน หรือทำเป็นยาดองเหล้าและดองน้ำผึ้ง แต่ในปัจจุบันนี้จะพบเห็นผลิตภัณฑ์ของกระชายดำวางจำหน่ายในท้องตลาด ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ชาชง ยาแคปซูล ยาน้ำ ยาเม็ด กาแฟ และไวน์กระชายดำ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก
สรรพคุณของกระชายดำ
- จากการค้นคว้าเอกสารงานวิจัยพบว่า กระชายดำนั้นมีสรรพคุณมากมาย และสามารถช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ได้เกือบ 100 ชนิด
- ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ มีคุณค่าทางคงกระพันชาตรี ด้วยการใช้เหง้านำมาหั่นเป็นแว่น แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง นำมาบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้กินเช้าเย็น
- ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ด้วยการใช้เหง้าผสมกับวัตถุดิบจากธรรมชาติชนิดอื่นเป็นยาดองเหล้า
- ว่านกระชายดำช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
- ช่วยบำรุงผิวพรรณของสตรีให้สวยสดใส ดูผุดผ่อง
- ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชายหากสุภาพสตรีรับประทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ
- ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย แก้กามตายด้าน ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาดองกับเหล้าขาวและน้ำผึ้งแท้ดองทิ้งไว้ประมาณ 9-15 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มวันละ 1-2 เป๊ก (กระชายดําไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ช่วยทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ง่ายและบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวก็สามารถรับประทานเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงได้)
- ช่วยกระตุ้นระบบประสาท บำรุงประสาท ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย
- ช่วยในการนอนหลับ แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน ช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น
- ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ แก้โรคหัวใจ
- ช่วยบำรุงโลหิตของสตรี
- ช่วยในระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต รักษาสมดุลของความดันโลหิต
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
- ช่วยแก้หอบหืด
- ช่วยแก้อาการใจสั่นหวิว แก้ลมวิงเวียน
- เหง้าใช้ต้มดื่มแก้โรคตา ช่วยรักษาสายตา
- ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ปากเป็นแผล ปากเปื่อย ปากแห้ง
- ช่วยแก้โรคตานซางในเด็ก แก้ซางตานขโมยในเด็ก
- ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก
- ช่วยรักษาโรคในช่องท้อง มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในลำไส้
- ช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียด
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง ปวดมวนในท้อง อาการท้องเดิน หากมีอาการท้องเดินให้ใช้เหง้านำมาปิ้งไฟให้สุกแล้วนำมาตำให้ละเอียด ใช้ผสมกับน้ำปูนใสแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกงหลังจากการถ่ายเนื่องจากมีอาการท้องเดิน
- ช่วยรักษาโรคท้องร่วง
- ช่วยในการย่อยอาหาร รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดความสมดุล
- กระชายดำแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ช่วยรักษาโรคบิด แก้อาการบิดเป็นมูกเลือด
- สรรพคุณกระชายดำ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
- ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ
- ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี
- ช่วยขับประจำเดือน แก้อาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี
- เหง้าใช้โขลกผสมกับเหล้าขาวคั้นเป็นน้ำดื่ม ช่วยแก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อนได้
- ช่วยแก้ฝีอักเสบ
- ช่วยรักษากลากเกลื้อน
- ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการเหนื่อยล้า
- ช่วยรักษาโรคปวดข้อ
- ช่วยรักษาโรคเกาต์
- ช่วยแก้อาการเหน็บชา
- กระชายดำช่วยขับพิษต่าง ๆ ในร่างกาย
- ช่วยรักษาอาการมือเท้าเย็น
- กระชายดำมีฤทธิ์ในการช่วยรักษาเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคผิวหนัง
- เหง้าใช้ต้มกับน้ำให้สตรีหลังคลอดบุตรดื่ม จะช่วยขับน้ำนม รักษาอาการตกเลือด และช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
ข้อควรระวังในการใช้กระชายดำ
- ห้ามใช้กระชายดำในเด็กและในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
- ผลข้างเคียงของกระชายดำ การรับประทานในขนาดสูงอาจทำให้เกิดอาการใจสั่นได้
- การรับประทานเหง้ากระชายดำติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เหงือกร่น
- กระชายดำสามารถรับประทานได้ทั้งหญิงและชายโดยไม่เกิดผลข้างเคียงใด ๆ ยิ่งสำหรับผู้สูงอายุก็พบว่านิยมใช้กันมานานมากแล้ว
- แม้จะมีงานวิจัยในสัตว์ทดลองที่ระบุว่ากระชายดำไม่พบว่ามีความเป็นพิษ แต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้กระชายดำในคนจึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อความปลอดภัย