เซราไมด์จากพีชที่ผู้หญิงชื่นชอบและอุดมด้วยสรรพคุณต่าง ๆ
เซราไมด์จากพีช มาจากลูกพีชหรือลูกท้อ ผลมีเหลืองส้ม-อมชมพู รสเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ซึ่งประโยชน์ของผลสุกได้แก่ ต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันหวัดช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น แต่ทราบหรือไม่ว่าผลไม้ชนิดนี้ยังมีสรรพคุณที่ช่วยในเรื่องการสร้างเกราะปกป้องผิวพรรณและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว วันนี้ วิณพา จะนำข้อมูลเหล่านี้มานำเสนอค่ะ
เป็นสารสกัดใหม่ที่ทำมาจากพีชสด ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้กับหลายผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ส่วนผสมสำหรับอาหารเสริม เหมาะสำหรับทุกวัย สรรพคุณเพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยปกป้องผิวพรรณ ช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ชุ่มชื้น ช่วยยับยั้งการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ผิวพรรณดูกระจ่างใสขึ้น โดยธรรมชาติเซราไมด์ในผิวจะค่อย ๆ มีปริมาณลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้นจึงเป็นผลให้สภาพผิวมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ผิวขาดเซราไมด์คือ พันธุกรรมมีผิวแห้งแต่กำเนิด การสัมผัสกับแสงแดด รวมถึงความเครียดก็เป็นตัวกระตุ้นให้เซลล์ผิวสร้างสารตัวนี้ลดลง หากผิวเกิดการขาดสารนี้จะส่งผลให้ผิวแห้งแตกง่าย เกิดริ้วรอยตีนกา รอยเหี่ยวย่นได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดจุดด่างดำ ฝ้า กระ บนผิวขึ้นอีกด้วย
พีช ผลไม้ที่ชื่นชอบของผู้หญิง
จากการวิจัย ผู้หญิงอายุ ระหว่าง 20 – 59 ชื่นชอบพีชเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นอันดับสองจาก สถิติผลไม้ 10 ชนิด รองจาก สตรอว์เบอร์รี่ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า รสชาติและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของพีชนั้น ถูกใจคุณผู้หญิงเป็นอย่างมาก
ช่วยเร่งการผลิตเซราไมด์โดยธรรมชาติของผิว
มีคุณสมบัติในการช่วยกระตุ้นการผลิตเซราไมด์ของผิว ซึ่งสังเกตได้จากกราฟด้านล่าง สังเกตได้ว่าเซราไมด์จากพีชช่วยกระตุ้นให้การผลิตเซราไมด์เพิ่มขึ้น หากเพิ่มลงไปจะทำให้การผลิตเซราไมด์โดยธรรมชาตินั้น มีอัตราที่สูงขึ้นด้วย สังเกตจากกราฟด้านล่างนี้เลยค่ะ
รู้หรือไม่ Peach Ceramide ช่วยต้านมะเร็งได้
เพราะมีสารกลัยโคสฟิงโกไลปิด (Glycosphingolipid) ที่มีชื่อว่า G1b ซึ่งเป็นกลุ่มไขมันที่มีขั้วเป็นองค์ประกอบของเซลล์ผิว กลัยโคสฟิงโกไลปิดมีหน้าที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน พบว่า กลัยโคสฟิงโกไลปิดของเซลล์มะเร็งแตกต่างจากเซลล์ปกติ จึงคาดว่า นอกจากฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งโดยตรงต่อเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด ลำไส้ใหญ่และตับ ระดับปานกลางในหลอดทดลอง G1b อาจมีฤทธิ์ปรับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจากการทดลองเบื้องต้นพบว่า G1b เพิ่มอัตราส่วนของ CD 3, 4 : CD 3, 8 ที่ผิวของเซลล์เม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงในวันที่ 3 และ 7 จากการตรวจความเป็นพิษเฉียบพลันและความเป็นพิษกึ่งเรื้อรังของน้ำคั้น พบว่ามีความปลอดภัย