อย.เตือน ซันคลาร่า โฆษณาเกินจริง ชื่อเหมือนกันแต่ไม่ใช่ของเรา!
ซันคลาร่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ขึ้นชื่อระดับประเทศ และมีอายุมายาวนานกว่าทศวรรษ เคยถูกตั้งข้อสงสัยว่า อันตรายเพราะโฆษณาเกินจริง!! มีหลายคนสอบถามเข้ามา เพราะเคยมีข่าวว่า อย. เตือน ผู้บริโภคให้ระวังซันคลาร่า แต่!! แท้จริงแล้ว
แค่ชื่อเหมือนกัน แต่ไม่ใช่สินค้าของเรา
จากคำเตือน อย.ที่กล่าวว่า "อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ซันคลาร่า” ทางแผ่นพับ วิทยุ เว็บไซต์ รวมทั้งในรูปแบบขายตรง อวดสรรพคุณ อ้างทำให้ผิวสวย หน้าใส ลดน้ำหนัก ป้องกันโรคเบาหวาน พาร์กินสัน และอัลไซเมอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ย้ำ! ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค ไม่ได้ช่วยลดน้ำหนัก ไม่ได้ช่วยเสริมเรื่องทางเพศ ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาถี่ถ้วนก่อนซื้อ มิเช่นนั้นจะเสียเงินทองจำนวนมาก โดยไม่ได้รับประโยชน์จากการบริโภค แถมอาจเกิดการเสี่ยงต่อร่างกาย หากมีสารอันตรายเป็นส่วนผสม
ซึ่งแท้จริงแล้ว ซันคลาร่ากล่องส้ม หรือแม้แต่ ซันคลาร่าพลัส กล่องขาว เราทำมาหลายปีแล้ว เราเป็นผู้ผลิตแต่เพียงผู้เดียว แต่เพราะธุรกิจอาหารเสริมไม่ได้มีเจ้าเดียวที่ผูกขาดในประเทศ ยังมีอีกหลายๆโรงงานที่เปิดขึ้น มีทั้งที่ตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายและตั้งขึ้นเพื่อโฉยโอกาสจากลูกค้า และเนื่องจากซันคลาร่าค่อนข้างขายดี จึงมีการหลอกเลียนแบบ แอบอ้างสรรพคุณคล้ายกัน และยังโฆษณาเกินจริงในขณะที่ใช้ชื่อเดียวกับแบรนด์ซันคลาร่า ของแท้ ทำให้เป็นประเด็นสับสนจนถึงทุกวันนี้
ซันคลาร่าของแท้ จะเป็นกล่องสีส้ม ไม่ใช่สีแดงปนส้ม และตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2559 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนผู้จัดจำหน่ายใหม่เป็น เฮลท์ตี้ อเวค (Healthy Awake) ตัวแทนโดยตรงของบริษัท ทั้งนี้ซันคลาร่า กล่องส้มถูกผลิตโดยบริษัทเนเจอรัล เฮิร์บ อินดัสตรี (เจ้าของเครื่องหมายทะเบียนการค้า และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สูตรแต่เพียงผู้เดียว) ดังนั้นจึงเป็นการการันตีได้อย่างแน่นอนว่า คุณจะได้รับสินค้าของแท้ส่งตรงจากโรงงานและปลอดภัย 100%
จากประเด็นการเข้าใจผิดนี้ จึงขอให้ผู้ประกอบการทุกรายเห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค ดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม อย่าโฆษณาด้วยวิธีต่าง ๆ ในลักษณะที่เกินเลยความเป็นจริง มิฉะนั้น อย. จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกินจริง เช่น รักษาได้สารพัดโรค ช่วยในการลดน้ำหนัก ช่วยเรื่องผิวพรรณ เป็นต้น ผ่านทางสื่อต่างๆ หรือโฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยการ ขายตรง ขอให้แจ้งร้องเรียนมายังสายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทาง ราชการจะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป