ผักเชียงดา นักฆ่าเบาหวานและลดน้ำตาลในเลือด
ผักเชียงดา นักฆ่าเบาหวานและลดน้ำตาลในเลือด
ผักเชียงดา เป็นผักพื้นบ้านในภาคเหนือของประเทศไทย ด้วยความที่หาง่าย และนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย จึงทำให้ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่มาก นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นก็ได้ให้ความสนใจสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือดและเบาหวานของผักเชียงดาเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ วิณพา จึงมีสาระความรู้เกี่ยวกับผักชนิดนี้มาฝากกันค่ะ
ผักเชียงดามีสรรพคุณเด่นมากเรื่องมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เพราะถูกใช้ในการบรรเทาอาการเบาหวานในแถบประเทศเอเชียมานานหลายร้อยปีแล้ว แถมผักเชียงดายังมีรสชาติอร่อย นำไปทำเมนูอาหารได้หลายอย่าง รวมทั้งยังมีการนำมาแปรรูปเป็นชาเชียงดา เป็นแคปซูลเชียงดา จัดจำหน่ายในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและมีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศอีกด้วย ดังนั้นเราจะไม่รู้จักผักเชียงดาก็คงไม่ได้แล้วล่ะเนอะ
ผักเชียงดา
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gymnema inodorum (Lour.) Decne. ซึ่งคำว่า Gymnema มีรากศัพท์มาจากภาษาฮินดู "Gurmar" ที่แปลว่าผู้ฆ่าน้ำตาล เนื่องจากในผักเชียงดามีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ยับยั้งการขนส่งน้ำตาลและชะลอการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้เล็กนั่นเอง และด้วยความที่ผักเชียงดาเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ ชื่อของผักเชียงดาในภาษาเหนือจึงมีให้เรียกอย่างหลากหลาย อาทิ ผักเซี่ยงดา เซ่งดา เจียงดา ผักกูด ผักว้น ผักม้วนไก่ หรือผักเซ็ง เป็นต้น ส่วนภาคกลางจะเรียกกันว่า ผักจินดา
สรรพคุณเด็ดๆ ของผักเชียงดา
- ลดน้ำตาลในเลือด : มีฤทธิ์ยับยั้งการขนส่งน้ำตาล ชะลอการดูดซึมน้ำตาลบริเวณลำไส้เล็ก กระตุ้นการสร้างและซ่อมแซมเบต้าเซลล์ในตับอ่อน ทำให้มีการหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้น้ำตาลในเลือดลดลง
- แก้โรคเบาหวาน : ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนำผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทาน จากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้ หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ : ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง และการเสียของ DNA ข้ออักเสบรูมาตอยด์และเกาต์ ผักเชียงดาปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีสูงถึง 5,905 ไมโครกรัม อีกทั้งในใบเชียงดายังพบวิตามินซีและสารกลุ่มฟีนอลิกค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในน้ำคั้นใบสด ๆ สารต้านอนุมูลอิสระจะมีเยอะมากเลยทีเดียว
- ใช้ลดน้ำหนักได้ : เพราะผักชนิดนี้สามารถช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีรายงานว่า ผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง
- แก้ไข้ : ผลของผักเชียงดามีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ โดยนำผลไปตากแห้ง จากนั้นบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง น้ำมะนาวและเกลือเล็กน้อย นำมากวาดคอ จะช่วยทำให้ชุ่มคอ ลดอาการไอ บรรเทาอาการหอบหืด
- ช่วยระบบขับถ่ายทำงานดี : การรับประทานผักเชียงดาใบแก่ จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ชาวบ้านนิยมนำมาแกงรวมกับผักตำลึงและยอดชะอมเพื่อใช้รักษาอาการท้องผูก
- แก้พิษอักเสบ : พิษร้อน ช่วยดับพิษกาฬ แก้พิษไข้เซื่องซึม และแก้เริม
- ช่วยบำรุงสายตา : แก้ตาฝ้าฟาง มีอาการเคืองตา เนื่องจากผักชนิดนี้มีวิตามินสูง