จะเชื่อได้อย่างไรว่าโรงงานที่ผลิตมี มาตรฐาน และไม่หลอกลวงผู้บริโภค!
มาตรฐาน ต้องจะมี GMP ! เป็นพื้นฐาน
แน่นอนค่ะว่าการที่เราจะซื้อสินค้าสักอย่างหนึ่งจะต้องคำนึงถึงที่มาและความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่าสินค้าที่เรากำลังจะเสียตังซื้อมาบริโภคนั้นถูกผลิตมาจากโรงงานที่ปลอดภัยถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่??? วันนี้ วิณพา มีคำตอบค่ะ ตัวอย่างสินค้าที่เราซื้อมาจะรู้ได้ว่าปลอดภัยเราก้ต้องดูว่ามี อย. รึเปล่า แล้วถ้าเป็นโรงงานที่ผลิตล่ะเราจะรู้ได้ไงว่าโรงงานที่ผลิตสินค้าได้มาตรฐานรึไม่ ?
สังเกตได้ง่ายๆ เลยคือโรงงานจะต้องมีระบบประกันคุณภาพ GMP, HACCP, ISO ซึ่งถ้ามีครบสามตัวนี้รับประกันเลยว่าโรงงานที่ผลิตสินค้านี้ได้มาตรฐานแน่นอนค่ะ แล้วเจ้าสามตัวนี้ (GMP, HACCP, ISO) มันคืออะไร??
เราจะมาอธิบายกันที่ละตัวเลย มาเริ่มจากตัวแรกเลย คือ มาตรฐาน GMP บางท่านเคยอาจจะเคยได้ยินคำโฆษณาของผลิตภัณฑ์ว่าผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP เคยสงสัยไหมค่ะทำไมต้องผ่าน GMP แล้ว GMP คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ลองมาอ่านกัน
GMP คืออะไรและมีที่มาอย่างไร ?
GMP ย่อมาจาก Good Manufacturing Practice เป็นคําที่นํามาจาก กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่กําหนดอยู่ใน Code of Federal Regulation title ที่ 21 part 110 หากเทียบกับมาตรฐานสากล คือ มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ FAO/WHO (Codex) จะใช้คําว่า General Principles of Food Hygiene นักวิชาการทางด้านอาหารมักใช้คําว่า GMP เนื่องจากเป็นคําย่อที่ เข้าใจตรงกันว่า หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกําหนดขั้นพื้นฐานที่จําเป็น ในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทําให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการ ป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทําให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
GMP เป็นระบบประกันคุณภาพ ที่มีการปฏิบัติและพิสูจน์แล้วจากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารทั่วโลก ว่าสามารถทําให้อาหารเกิดความปลอดภัย เป็นที่เชื่อถือยอมรับจากผู้บริโภค โดยอาศัยหลายปัจจัยที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากยิ่งสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กําหนดได้ทั้งหมดก็จะทําให้อาหารมีคุณภาพมาตรฐาน และมีความปลอดภัยมากที่สุด
หลักการของ GMP จึงครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร กระบวนการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบ ระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และ การขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย
ข้อกําหนด GMP สุขลักษณะทั่วไป (ปัจจุบันครอบคลุมอาหาร 57 ประเภท) มีอยู่ 6 ข้อกําหนด ดังนี้
- สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
- เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต
- การควบคุมกระบวนการผลิต
- การสุขาภิบาล
- การบํารุงรักษาและการทําความสะอาด
- บุคลากรและสุขลักษณะ
ในแต่ละข้อกําหนดมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ผลิตมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อน อันตรายทั้งทางด้านจุลินทรีย์เคมีและกายภาพลงสู่ผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจมาจากสิ่งแวดล้อม ตัวอาคาร เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและความ ปลอดภัยเป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไป เช่น HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) และ ISO 9000 อีกด้วย
การที่ผลิตภัณฑ์จะขอเลขอย.ได้นั้น โรงงานจะต้องผ่านมาตรฐาน GMP ก่อนนะคะ ดังนั้น GMP จึงเป็นพื้นฐานในกระบวนการสร้างมาตรฐานที่สำคัญ ในบทความตอนหน้าเราจะมาต่อในเรื่องของ HACCP และ ISO ต่อไปค่ะ