เตือนภัยสาร ลอร์คาเซริน อันตรายอย่างไรหากทานเข้าไป

ลอร์คาเซริน,โทษของลอร์คาเซริน,ผลเสียของสารลอร์คาเซริน,อันตรายของลอร์คาเซริน

เตือนภัยสาร ลอร์คาเซริน อันตรายอย่างไรหากทานเข้าไป

ลอร์คาเซริน ตรวจพบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เตือน!!ผู้บริโภคที่กำลังหลงเชื่อ เป็นเหยื่อการตลาดของอาหารเสริมลดน้ำหนัก เพื่อเตือนภัยในการป้องกันและเพิ่มความรู้ให้แก่ผู้บริโภค วันนี้ วิณพา จำกัด ได้นำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารดังกล่าวมาบอกต่อกับเพื่อนๆ กันค่ะ

ลอร์คาเซริน,โทษของลอร์คาเซริน,ผลเสียของสารลอร์คาเซริน,อันตรายของลอร์คาเซริน

เป็นข่าวโด่งดังอีกครั้งกับสารอันตรายที่ตรวจพบในอาหารเสริมลดน้ำหนักอย่าง ลอร์คาเซริน สืบเนื่องมาจากเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 5 กรกฏาคม 2562 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจพบยาลดความอ้วน “ลอร์คาเซริน” ปนปลอม ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นครั้งแรกในประเทศไทย มีผลข้างเคียง ได้แก่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มีผลต่อจิตและประสาท และหัวใจ ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีภาวะบกพร่องของตับและไต

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้รับตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  ลักษณะแคปซูลสีขาวในแผงอลูมิเนียมพลาสติก จำนวน 180 แคปซูล และตัวอย่างจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ลักษณะผงสีน้ำตาล สีขาว และสีดำ บรรจุขวด จำนวนมาก น้ำหนักรวม 70 กิโลกรัม ส่งมาตรวจพิสูจน์เพื่อหาไซบูทรามีน ยา และวัตถุออกฤทธิ์ จากการตรวจพิสูจน์ ในห้องปฏิบัติการไม่พบไซบูทรามีน แต่ตรวจพบสารลอร์คาเซรินซึ่งเป็นยาควบคุมน้ำหนักที่ยังไม่มีจำหน่ายและไม่เคยพบ มาก่อนในประเทศไทย โดยการออกฤทธิ์นั้นจะเข้าไปควบคุมความอยากอาหารผ่านระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มีผลต่อหัวใจ และภาวะทางจิตและประสาท

กลุ่มคนที่ควรระวังอันตรายจากสารลอร์คาเซริน 

  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกินหรือมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางตับและไต
  • หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีผลต่อทารกในครรภ์
  • ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดและหัวใจ 

สารลอร์คาเซรินยังไม่มีการควบคุมในประเทศไทย แต่ในสหรัฐอเมริกาจัดเป็นสารควบคุมในกลุ่ม Schedule IV drugs คือ สามารถใช้ในทางการแพทย์ แต่มีแนวโน้มการนำมาใช้ในทางที่ผิดเช่นเดียวกับเฟนเตอมีน รวมทั้งยาควบคุมน้ำหนักอื่นๆ เช่น อีเฟดรีน แอมฟีพราโมน นอร์ซูโดอีเฟดรีน และมาซินดอล เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 เนื่องจากมีการใช้ในทางการแพทย์ แต่มีแนวโน้มการนำมาใช้ในทางที่ผิดสูง

อย่างไรก็ดี บริษัท วิณพา จำกัด จึงอยากเตือนผู้บริโภคที่กำลังหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของอาหารเสริมลดน้ำหนักอยู่ในขณะนี้นะคะ ก่อนที่ผู้บริโภคจะรับประทานอาหารเสริมลดน้ำหนักหรือแม้แต่อาหารเสริมประเภทอื่นๆ ควรสืบหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารเสริมนั้น และอาหารเสริมควรได้รับมาตรฐานสากล เช่น อย. / ISO / GMP / HACCP และที่สำคัญผู้บริโภคควรทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากธรรมชาติ เพราะแทบจะไม่มีผลข้างเคียงต่อผู้รับประทานเลยก็ว่าได้ ในทุกวันนี้ผู้ผลิตมีความอยากให้สินค้าเห็นผลกับผู้บริโภคโดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยและผลที่จะตามมา เหตุผลนี้จึงอาจทำให้ผู้ผลิตใส่สารปนเปื้อนเพื่อให้ประสิทธิภาพในการเห็นผลมีมากขึ้น

จากประเด็นข่าวนี้ จึงขอให้ผู้ประกอบการทุกรายเห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค ดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม อย่าโฆษณาด้วยวิธีต่าง ๆ ในลักษณะที่เกินเลยความเป็นจริง มิฉะนั้น อย. จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกินจริง เช่น รักษาได้สารพัดโรค ช่วยในการลดน้ำหนัก ช่วยเรื่องผิวพรรณ เป็นต้น ผ่านทางสื่อต่างๆ หรือโฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยการ ขายตรง ขอให้แจ้งร้องเรียนมายังสายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทาง ราชการจะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ขอบคุณเนื้อหาเพิ่มเติมจาก : เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/839722