รู้ทัน ป้องกันได้โรคที่มากับ หน้าฝน
หน้าฝน คือช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม อากาศเริ่มเย็นและมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้เกิดโรคหลายชนิด เราจึงควรทราบสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ วันนี้ วิณพา จึงมีข้อมูลดีๆ เพื่อให้เรารู้ทัน และป้องกันโรคที่จะเกิดในหน้าฝนนี้ได้ค่ะ
โรคไข้หวัดใหญ่
เกิดจากเชื้ออินฟลูเอ็นซาไวรัส พบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ติดต่อจากการไอ จามรดกัน ทำให้มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอแห้ง คอแห้ง เจ็บคอ คัดจมูก น้ ามูกไหล จาม หรือมีเสมหะมาก ตาแดง ตาแฉะ
ป้องกันรักษาได้โดย : นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลรักษาร่างกายให้อบอุ่น ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารอ่อน และย่อยง่าย สวมหน้ากากอนามัยและหมั่นสังเกตอาการ หากมีไข้สูงนาน มากกว่า 2 วัน หายใจหอบเหนื่อย เจ็บหูมาก ชัก ซึมไม่ดื่มน้ำ ไม่รับประทานอาหาร ต้องรีบพาไปพบแพทย์ สำหรับกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยรื้อรัง
โรคปอดอักเสบ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ในสภาวะที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติอาจเกิดจากเชื้อรา และพยาธิ ติดต่อทางการไอ จาม รดกัน อาการคือ มีไข้ ไอ เสมหะมาก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ในเด็กเล็กพบอาการหายใจเร็วกว่าปกติ หากอาการรุนแรง อาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว จนเกิดภาวะขาดออกซิเจน หรือติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้
ป้องกันรักษาได้โดย : การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวบ่อยๆ เมื่อมีไข้ รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสม โดยเฉพาะเมื่ออากาศเย็นจัด ชื้นจัด คอยสังเกตอาการว่ามีไข้สูงนานมากกว่า 2 วัน หรือ ไอนานเกิน 7 วัน เจ็บหู ซัก ซึม ไม่ดื่มน้ า ไม่รับประทานอาหาร หอบมากขึ้น หายใจต้องออกแรงมากขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์
โรคอหิวาตกโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ติดต่อโดยตรงจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ าที่มีเชื้อปนเปื้อน อาการคือ ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำครั้งละมากๆ อุจจาระเหลวสีคล้ายน้ำซาวข้าว กลิ่นเหม็นคาวจัด อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย มีอาการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว คือ กระหายน้ำ อ่อนเพลีย ปัสสาวะน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ หายใจผิดปกติชีพจรเต้นเบา อาจทำให้เกิดภาวะช็อก หมดสติเนื่องจากเสียน้ำไปมาก รายที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
ป้องกันรักษาได้โดย : ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม หลีกเลี่ยงอาหารสุกสุก ดิบๆ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่
โรคไวรัสตับอักเสบ เอ
เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม picornavirus ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคหรือจากคนหนึ่งสู่อีกคน ไม่ติดต่อทางน้ำลายหรือปัสสาวะ โดยทั่วไปจะมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลืองร่วมด้วย สามารถหายได้เองด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ
ป้องกันรักษาได้โดย : รับประทานอาหารสุก ดื่มน้ำสะอาด รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน และฉีดวัคซีนป้องกันโรค
โรคมือ เท้า ปาก
เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบมากในทารกและเด็กเล็ก ติดต่อโดยการได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปทางปาก อาการเริ่มด้วยมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บปากและเบื่ออาหาร เนื่องจากมีแผลอักเสบ ที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม อาจเกิดผื่นแดงไม่คันที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้าและอาจพบที่ก้น หรือหัวเข่า
ป้องกันรักษาได้โดย : รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายรสไม่จัด นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีและล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปากควรหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ
โรคเลปโตสไปโรสิส
ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน โดยเชื้อจะออกมากับฉี่ของสัตว์ เช่น หนู หมู วัว ควาย แพะ แกะ และสุนัข แล้วปนเปื้อนในแม่น้ำ ลำคลอง พื้นที่ที่มีน้ำขัง หรือพื้นที่ชื้นแฉะ ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคฉี่หนู ได้แก่ ผู้ที่ลุยน้ำหรือแช่น้ำนานๆ ผู้ที่เดินลุยน้ำท่วม เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลหรือเข้าทางเยื่อบุอ่อนๆ ขณะที่แช่น้ำ หรือรับประทานอาหาร ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาการคือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่องและโคนขา ต่อมาอาจมีเยื่อบุตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ท้องเดิน บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน หรือตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสน เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเสียชีวิตได้
ป้องกันรักษาได้โดย : โดยหลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ย่ำโคลนนานๆ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้ว ต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ซับให้แห้งโดยเร็วที่สุด ควรสวมรองเท้าหรือรองเท้าบู๊ทที่เหมาะสม ดูแลที่พักให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู
ทั้งนี้การป้องกันโรคที่มากับหน้าฝนที่ดีที่สุด คือ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รักษาร่างกายให้อบอุ่นในช่วงอากาศหนาวเย็นหรืออากาศเปลี่ยนแปลง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการป่วย และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อต่างๆ ได้